นิทานสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่ทุกบ้านที่มีเด็กเล็กจะต้องมี เพราะการเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ทำร่วมกับลูกได้ง่ายๆ ที่บ้าน เพื่อช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ประโยชน์อื่นๆ ของนิทานที่นอกจากใช้เพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็กๆ แล้ว ยังสามารถใช้นิทานเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กในหลายๆ ด้านได้อีกด้วย โดยเฉพาะจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

นิทานสำหรับเด็ก มีความสำคัญ

นิทานสำหรับเด็ก หนังสือเล่มแรกของลูกที่มีความหมาย เด็กเล็กๆ ยังอ่านหนังสือไม่ได้ จึงต้องอาศัยพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูเป็นคนอ่านให้ฟัง ซึ่งในระหว่างที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง จะเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่แสดงความรักต่อลูก และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เด็กๆ ได้ใช้สมองในการคิดและจินตนาการ เด็กๆ ทุกคนจึงชื่นชอบการฟังนิทาน

นิทานจะทำให้เด็กนิ่ง มีใจจดจ่อกับการฟังเรื่องราวอันแสนสนุกสนานและตื่นเต้น นิทานสำหรับเด็กถือเป็นสื่อที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเล็ก หากคุณพ่อคุณแม่คิดไม่ตกว่าจะเลี้ยงดูลูกให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพได้อย่างไร นิทานเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถจุดประกายและพัฒนาลูกได้ค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียว ซึ่งประโยชน์ของนิทานมีมากมาย ควรอ่านนิทานให้ลูกฟังตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง เพราะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการให้เขาฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง และเมื่อน้องคลอดออกมาแล้วทุกคืนก่อนที่เขาจะนอนก็ควรอ่านให้เขาฟังเพราะมีข้อดีต่างๆ มากมาย

นิทานเสริมพัฒนาการ 6 ด้าน

1. นิทานสำหรับเด็ก สร้างสายสัมพันธ์พ่อ แม่ ลูก

ดังที่ทราบกันแล้วว่าพัฒนาการที่สำคัญที่สุดในช่วง 3 ขวบปีแรกของมนุษย์คือ การสร้างสายสัมพันธ์กับแม่ หรือพ่อ อย่างแข็งแรงมากที่สุด สายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในสามขวบปีแรกนี้ จะทำหน้าที่กำกับชีวิตของเด็กๆ ให้อยู่ในเส้นทางที่ดีตลอดกาลนาน การอ่านหนังสือวันละ 15 นาทีให้ลูกฟังก่อนนอนเป็นกิจกรรมที่ง่ายมาก ในการประกันว่าพ่อแม่จะได้อยู่ใกล้ลูกแน่ๆ อย่างน้อยก็ทุกวันๆ ละ 15 นาที ได้เห็นหน้า ได้ยินเสียง ได้แตะเนื้อต้องตัว และมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้เด็กเล็กสามารถสร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริงขึ้นมา สร้างสายสัมพันธ์กับพ่อแม่ และสร้างตัวตนที่แข็งแรงมากในที่สุด ตัวตนคือรากฐานของพัฒนาการอีกหลายๆ เรื่องในอนาคต สรุปง่ายๆ ก็คือ นิทานช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้แก่พ่อแม่และเด็กได้เป็นอย่างดี นิทานเป็นสื่อกลางที่ส่งความอบอุ่นความเอาใจใส่จากพ่อแม่ไปสู่ลูกทำให้เด็กไม่รู้สึกว้าเหว่ เด็กมีสภาพจิตใจที่มั่นคงมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และความคิดเหมาะสมตามวัย

2. นิทานสำหรับเด็ก สร้างพัฒนาการด้านภาษา

ระหว่างที่พ่อแม่ลูกนอนอ่านนิทานด้วยกัน เด็กเล็กจะมองเห็นเส้นสายตัวอักษรคืออักขระและได้ยินเสียงพ่อแม่อ่านหนังสือไปตามอักขระ ด้วยกระบวนการนี้ทุกวัน วันละ 15 นาที สมองของเด็กจะพัฒนาความสามารถที่เรียกว่าการให้สัญลักษณ์ กล่าวคือรู้ว่า “เส้น” มิได้เป็นเพียงแค่เส้น แต่มีสัญลักษณ์ซ่อนอยู่ภายใต้เส้นนั้น นี่คือโครงสร้างที่สำคัญมากของสมองในวันหน้า นั่นคือความสามารถที่จะให้สัญลักษณ์ ใช้สัญลักษณ์ และถอดความหมายของสัญลักษณ์เป็นรากฐานของการใช้ภาษาทั้งการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ไม่นับศาสตร์ด้านอื่นๆ รวมทั้งความสามารถที่จะใช้อุปมาอุปมัย

3. นิทานสำหรับเด็ก สร้างพัฒนาการด้านการคิด

เด็กเล็กไม่เพียงเห็นเส้นสายที่ก่อรูปเป็นอักขระ แต่เขาจะเห็นรูปภาพประกอบนิทานด้วย เช่น ช้างรูปช้างที่เด็กเห็นในวันแรกจะกระตุ้นวงจรประสาทในสมองให้ทำงาน วงจรประสาทที่ถูกระตุ้นนั้นจะได้เห็นและรับข้อมูลรูปภาพอื่นๆ อีกในเวลาต่อมา เช่น ช้างจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ทำให้วงจรประสาทนั้นพัฒนาไปอีก ช้างคือสัตว์ที่มีหูใหญ่ มีอะไรบางอย่างที่ยืดยาวออกมาระหว่างตา และใจดี ความคิดเรื่องช้างจะแปรเปลี่ยนไปทุกวัน มีบ้างบางวันที่เด็กเล็กนอนหลับตาฟังนิทานโดยไม่ดูรูป สมองของเขาจะวาดภาพช้างตัวใหม่ขึ้นมาอีก ช้างนั้นจะแปรเปลี่ยนไปทุกวัน แล้วแต่สมองรับรู้เรื่องช้างมากน้อยเพียงใด ที่มหัศจรรย์คือ
ถึงแม้ว่าวันหนึ่งเขาจะได้เห็นช้างจริงๆ เดินในสวนสัตว์ แต่ช้างในสมองของเขาก็ยังมีหลายรูปแบบให้เขาเลือกใช้และต่อยอดความคิดไปตามสถานการณ์ จะเห็นว่านี่คือสมองที่เปิดกว้างและไร้ขีดจำกัดอย่างแสนมหัศจรรย์

4. นิทานสำหรับเด็ก สร้างพัฒนาการด้านสติปัญญา

สติปัญญาที่แท้เกิดจากความเชื่อมโยง มิได้เกิดจากความจำหรือการท่องจำการอ่านนิทานสำหรับเด็กก่อนนอนทุกวันๆ ละ 15 นาทีจนกระทั่งสร้างนักอ่านขึ้นมาจนได้ในตอนท้ายจะช่วยให้สมองของเขามีวงจรประสาทนับล้านที่เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ไม่แยกส่วน สามารถเชื่อมศาสตร์หนึ่งไปสู่อีกศาสตร์หนึ่งโดยอัตโนมัติอย่างที่เรียกว่าไม่ต้องพยายามคิดหัวแทบแตก สมองจะพัดพาความคิดไป

5. นิทานสำหรับเด็ก ปลูกฝังพฤติกรรมวัยเด็ก

นิทานก่อนนอนในปฐมวัยเป็นการผจญภัยไปในดินแดนต่างๆ ในบ้าน นอกบ้าน ในโลก นอกโลก ใต้น ้า อวกาศใต้ดิน ยอดเขา ไปจนถึงในจินตนาการ ด้านเนื้อเรื่องของนิทานก็มีตั้งแต่สุขสันต์นิรันดรไปจนถึงเรื่องราวด้านมืดของความเป็นมนุษย์คือ รัก โลภ โกรธ หลง ชีวิต ความตาย รวมทั้งภูตผีปีศาจ สารพัดเรื่องราวที่จะเข้าไปรวบกวนจิตใจ ทั้งด้านบวกด้านลบด้านสว่างด้านมืดด้านดีด้านร้าย ท าให้จิตใจต้องพัฒนากลไกป้องกันตัวทางจิตใจในระดับจิตใต้สำนึก เพื่อเตรียมรับมือความเป็นจริงของชีวิต ที่จะมีทั้งสุขทุกข์ดีร้ายและร้ายที่สุดเวียนกันเข้ามาหา การอ่านนิทานก่อนนอนคือการสร้างเกราะป้องกันตัวที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง นอกจากนี้เนื้อหาในนิทานส่วนใหญ่มักสอดแทรกทักษะชีวิต และข้อคิดดีๆ ไว้ในตอนท้ายเรื่องเสมอ ซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้แก่เด็กใช้เป็นตัวบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณงามความดีและสิ่งเหล่านี้จะพัฒนาเป็นบุคลิกภาพติดตัวไปจนตลอดชีวิต

6. นิทานสำหรับเด็ก สร้างวินัยการนอน

เหตุผลหนึ่งคือเป็นอุบายที่จะดึงพ่อแม่มาอยู่พร้อมหน้ากับลูกทุกวัน เพียง 15 นาทีก็ยังดี อีกเหตุผลหนึ่งเพื่อสร้างวินัย การเข้านอน เด็กเล็กควรเข้านอนตรงเวลา ไม่ดึกจนเกินไป เพื่อเป็นหมุดหมายให้กิจกรรมอื่นๆ มีจังหวะเวลาของตัวเองด้วย และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพื่อใช้เวลาก่อนเข้านอนนี้ช่วยปรับหรือเปิดโอกาสให้คลื่นสมองเข้าสู่ระยะสงบก่อนจะถึงเวลานอน ที่สำคัญคือการจัดสภาพแวดล้อมก่อนนอนให้สงบ ห้องนอนหรือเขตนอนไม่กว้างเกินไป สะอาด ปราศจากฝุ่น ไม่รกรุงรังเกินสมควร ไฟสว่างพอที่จะอ่านหนังสือแต่ไม่รบกวนการนอน พ่อแม่ตัวเป็นๆ มาอยู่ด้วยกัน วางมือถือ อ่านนิทานด้วยน้ำเสียงสงบพอสมควร เหล่านี้เป็น
การเตรียมคลื่นสมองการนอนเข้าสู่ระยะพักเพื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่การนอนระยะที่ 1 ต่อไป อันจะนำไปสู่การนอนที่สงบ ลึก ได้พักผ่อนและการฝันที่ดี เหมาะสม ไม่มากไปไม่น้อยไป คือการพักเครื่อง จัดระเบียบข้อมูลในแต่ละวัน เพื่อเตรียมตัวตื่นขึ้นพบวันใหม่ อันจะท ำให้ได้สมองที่ดีที่สุด

นิทานสำหรับเด็ก

เทคนิคสำคัญของการเล่านิทานสำหรับเด็ก

  • การเล่านิทานสำหรับเด็ก เริ่มอ่านยิ่งเร็วยิ่งดี สามารถเริ่มอ่านนิทานสำหรับเด็กให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง หรือแรกเกิดเลย ถึงแม้ลูกจะไม่เข้าใจภาษา แต่สมองของลูกจะเริ่มพัฒนาผ่านน้ำเสียงของพ่อแม่ จากน้ำเสียงสูงๆ ต่ำๆ รวมถึงสัมผัสอ่อนโยนและอ้อมกอดของพ่อแม่ขณะอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
  • การเล่านิทานสำหรับเด็กอย่างสม่ำเสมอ โดยเริ่มกำหนดเวลาเดิมๆ เช่น หลังอาหารเช้า หรือ ก่อนนอน ทำสม่ำเสมอทุกวัน โดยขณะอ่านต้องไม่มีสิ่งรบกวนเช่น ทีวี มือถือ เป็นต้น
  • การเล่านิทานสำหรับเด็กให้สมจริง ขึ้นต้นเรื่องให้ดึงดูดและมีความน่าสนใจโดยการใช้น้ำเสียง เช่น เสียงดัง และชัดเจน
  • ใช้ลีลาการเล่าเริ่มต้นด้วยจังหวะช้าๆ และเร็วขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจ จากนั้นก็ปรับเป็นจังหวะปกติ
  • การเล่านิทานสำหรับเด็กควรเล่าให้จบเป็นเรื่องๆ ไม่คั่นจังหวะระหว่างเรื่อง ไม่ควรถามคำถามหรือพูดเรื่องอื่นจนเด็กหมดความสนใจและเกิดความเบื่อหน่ายนอกจากน้ำเสียงแล้วการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางที่สอดคล้องกับตัวละครในนิทาน จะช่วยกระตุ้นความสนใจ ท าให้เด็กรู้สึกตื่นเต้นอยากติดตามฟังจนจบ
  • ควรเลือกนิทานที่มีเนื้อหาสั้น (ไม่เกิน 3-5 นาที )และเนื้อหาเหมาะสมตามวัยของเด็ก เนื่องจากความสนใจและสมาธิของวัยเด็กเล็กยังอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ หากคุณพ่อคุณแม่เลือกนิทานที่มีความยาวเกินไปจะท าให้เด็กขาดความสนใจ เบื่อหน่าย และจะไม่ต้องการฟังนิทานอีกในครั้งต่อไป
  • การเล่านิทานสำหรับเด็กกระตุ้นให้คิดตาม เมื่อเล่าจบเรื่องควรเปิดโอกาสให้เด็กถามในสิ่งที่เขาสงสัย หรือตั้งำถามสะท้อนกลับให้เด็กได้คิด เช่น “ถ้าหนูเป็นตัวละคนในนิทานหนูคิดว่าควรท าอย่างไร” คำถามแบบสะท้อนกลับนี้ทำให้เด็กได้สำรวจความรู้สึกของตัวเอง ตลอดจนได้คิดหาวิธีแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นๆ

หากคำตอบของเด็กถูกต้องและเหมาะสม คุณพ่อ-คุณแม่ควรให้คำชมเชย เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้เด็กกระตุ้นให้เขาต้องการฟังนิทานอีกในครั้งต่อๆไป แต่หากคำตอบของเด็กไม่เหมาะสมคุณพ่อคุณแม่อาจเสริมความ คิดเห็นที่เหมาะสมลงไป เช่น“การที่ลูกคิดแบบนี้แม่คิดว่ามันอาจทำให้ลูก บาดเจ็บได้นะคะแม่คิดว่าลูกควรจะ……(ตามวิธีที่เหมาะสม) ลูกคิดว่าดีไหมคะ” การถามต่อว่า “ลูกคิดว่าดีไหมคะ” เป็นการสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของ เด็กให้เด็กยอมรับความคิดของผู้อื่ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ให้เด็กบังคับอมรับวิธีที่พ่อแม่คิดว่าถูกโดยที่เขายังมีคำถามค้างคาอยู่ในใจซึ่งอาจทำให้เด็ก รู้สึกต่อต้านอยู่ลึกๆและอาจ ทำให้เขาขาดความมั่นใจซึ่งส่งผลเสียต่อ บุคลิกภาพของเด็กตลอดจนถึงวัยผู้ใหญ

เคล็ดลับการเลือกนิทานสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับวัย

นิทานที่เหมาะกับช่วงวัยของเด็ก แบ่งออกเป็น 4 ช่วง

  • เด็กเล็กอายุ 0-3 ปี

ส่วนใหญ่หนังสือนิทานควรเป็นภาพ มีคำบรรยายเพียงสั้นๆ ไม่ต้องมีเนื้อเรื่องมาก หรือเป็นคำกลอน เพื่อให้เด็กเล็กได้เห็นรูปและฟังเสียง เด็กๆจะชอบมาก เพราะมีสัมผัสและเสียงอ่านที่ฟังแล้วเป็นจังหวะคล้ายเสียงดนตรี

  • เด็กอนุบาลอายุ 3-6 ปี

เน้นภาพเยอะกว่าตัวอักษร ซึ่งอาจเป็นคำกลอนคล้องจองที่เด็กสามารถจำง่าย หรือเนื้อเรื่องที่ไม่ซับซ้อน

  • เด็กประถมอายุ 6-9 ปี

ใช้ตัวอักษรให้มากขึ้น เนื้อเรื่องซับซ้อนมากขึ้น เล่าเรื่องที่เหมือนได้ประสบการณ์การผจญภัย หรือหาของที่ซ่อนอยู่ในภาพจะช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็กๆ ติดตามนิทานด้วยความสนุก

  • เด็กประถมปลายอายุ 9-12 ปี

เน้นภาพสวย จำนวนตัวละครมากขึ้น เนื้อหาช่วยให้ติดตามเพื่อแก้ปัญหา หรือใช้คำศัพท์ที่ยากขึ้น จะฝึกทักษะการฟังและจับใจความที่เป็นประโยชน์ในการเรียนหนังสือของเด็กๆ

ประโยชน์ของการเล่านิทานสำหรับเด็ก

  • นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเล็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต มีความมั่นใจ ฉลาด กล้าแสดงความคิดเห็น คือมีความฉลาดทั้งทางปัญญา (IQ) และฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
  • นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็วขึ้น เพราะการเล่านิทานเปรียบเสมือนการสอนภาษาไปในตัว เมื่อเด็กได้ยินได้ฟัง ก็จะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษามากขึ้น
  • นิทานทำให้เด็กจับประเด็นและวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆได้ดีขึ้น เพราะการเล่านิทานซ้ำ จนเด็กจำได้ทั้งเรื่อง จะทำให้เด็กมองเห็นภาพรวมของเรื่อง และจับประเด็นสำคัญจากเรื่องได้ง่ายขึ้น
  • นิทานจะช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ ในขณะที่พ่อแม่เล่านิทานนั้น น้ำเสียงที่ใช้เล่าเรื่องจะกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการเป็นภาพ ดังนั้น การเล่านิทานหลายๆเรื่องจึงเป็นการสร้างจินตนาการใหม่ให้กับเด็ก
  • นิทานช่วยสร้างสมาธิให้แก่เด็ก เพราะช่วงเวลาเล่านิทาน เด็กจะตั้งใจฟังนิทานอย่างใจจดใจจ่อ ยิ่งเมื่อเล่านิทานที่มีความหมายเหมาะกับช่วงวัยแล้ว เด็กก็จะเข้าใจเรื่องนิทานได้ง่ายขึ้น ถือเป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็กอีกหนึ่งวิธี

 

การเลือกนิทานสำหรับเด็กนอกจากจะเลือกให้เหมาะกับวัยของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียดก่อนอ่านนิทานให้ลูกฟัง เพราะภาวะอารมณ์ที่มีในขณะนั้นจะส่งผลต่อความรู้สึกของลูก ควรหาเวลานิทานสำหรับเด็กให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละครั้ง รู้จักกระตุ้นความรู้สึกมีส่วนร่วมโดยประสานสายตากับลูกๆ เป็นระยะๆ
โอบกอดลูกในขณะลูกฟังนิทาน ที่จะขาดไม่ได้ในการอ่านนิทานคือน้ำเสียงลีลา ท่าทาง หากพ่อแม่เล่านิทานด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนออกเสียงตามอักขระถูกต้อง  ลูกก็จะเรียนรู้ภาษาที่ถูกต้อง หากพ่อแม่ทำเสียงเล็กเสียงน้อย มีลีลาท่าทางการเล่าที่สนุกสนานก็จะกระตุ้นความสนใจและเพิ่มความสนุกมากขึ้น
นิทานสำหรับเด็กนอกจากจะช่วยให้ลูกสนุกสนานและมีความสุขแล้ว นิทานยังช่วยพัฒนาการด้านภาษาสร้างจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาสมองและสติปัญญาของเด็ก และที่สำคัญเป็นการสร้างความรักความผูกพันและความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัวด้วย

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ k9-companions.co

สนับสนุนโดย  ufabet369