Posts List

Health

  • ปากเบี้ยว มีสาเหตุมาจากอะไร และมีการรักษาอย่างไร
    ปากเบี้ยว มีสาเหตุมาจากอะไร และมีการรักษาอย่างไร

    ปากเบี้ยว ที่เกิดขึ้นบนหน้าอาจจะทำให้เรารู้สึกตกใจและเป็นกังวลกลัวเป็นแล้วไม่หาย เพราะเมื่อจู่ๆ จากใบหน้าที่ปกติเกิดการเปลี่ยนไป เพื่อเป็นการทำความเข้าใจอาการปากเบี้ยว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงความหมายของอาการปากเบี้ยว สาเหตุ การรักษา และภาวะแทรกซ้อนของอาการปากเบี้ยว

    ปากเบี้ยว

    ปากเบี้ยว คืออะไร

    ปากเบี้ยว หรือหน้าเบี้ยว (Bell’s Palsy/Facial Palsy) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้าเกิดความผิดปกติ ซึ่งภาวะนี้มักส่งผลให้ผู้ป่วยมีใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ส่วนผู้ป่วยที่ใบหน้าเบี้ยวทั้งหมดพบได้ไม่บ่อยนัก

    โดยทั่วไปแล้ว เส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve) คู่ที่ 7 จะอยู่ตรงใบหน้าแต่ละข้าง โดยเส้นประสาทใบหน้าแต่ละเส้นมาจากสมอง ทะลุผ่านกะโหลกและมาโผล่ใต้หู เส้นประสาทจะแตกออกอีกหลายเส้น เพื่อช่วยรองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ยิ้ม ทำหน้าบึ้ง หรือหลับตา รวมทั้งรับรสจากลิ้นและส่งต่อไปยังสมอง หากเส้นประสาทใบหน้าถูกทำลาย อาจส่งผลต่อการรับรส การผลิตน้ำตา และต่อมน้ำลาย ปากเบี้ยวถือเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทันที และอาการปากเบี้ยวมักจะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์

    อาการปากเบี้ยว

    อาการปากเบี้ยวจะแตกต่างกันไป ซึ่งมีตั้งแต่เกิดอาการชาระดับอ่อนไปจนถึงใบหน้าทั้งหมดเกิดอัมพาต อาการปากเบี้ยวมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยปากเบี้ยวจะมีอาการ ดังนี้

    • ใบหน้าครึ่งซีกประสบภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่งผลให้ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่ได้ หรือหลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยวข้างหนึ่งรวมทั้งขยับใบหน้าไม่ได้
    • อาจเกิดการระคายเคืองที่ตา เช่น ตาแห้ง หรือน้ำตาไหลมากขึ้น
    • อาจเกิดอาการปวดที่หู ด้านล่างหู หรือรอบขากรรไกรของใบหน้าข้างที่เกิดอาการปากเบี้ยว
    • รับรสชาติผิดเพี้ยน หรือรับรสได้น้อยลง
    • ประสาทหูไวต่อเสียง
    • มุมปากข้างที่เบี้ยวจะมีน้ำลายไหลออกมา
    • ปากแห้ง
    • ปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ
    • เกิดอาการหูอื้อข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
    • เคี้ยวอาหารหรือดื่มน้ำลำบาก
    • ปากเบี้ยวพูดไม่ชัด

    ผู้ป่วยที่ประสบภาวะกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงหรือน้ำลายไหลออกจากปากข้างที่เบี้ยว ควรพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยระดับความรุนแรงของอาการป่วยปากเบี้ยว รวมทั้งเข้ารับการรักษาต่อไป

    สาเหตุของปากเบี้ยว

    ปากเบี้ยวเกิดจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 บวมหรืออักเสบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต สาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทใบหน้าผิดปกติยังไม่ปรากฏแน่ชัด อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทใบหน้าอักเสบนั้นอาจมีแนวโน้มมาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะปากเบี้ยว มักเป็นเชื้อของโรคต่อไปนี้

    • โรคเริม เชื้อของโรคเริมที่ทำให้เส้นประสาทใบหน้าเกิดการอักเสบ มี 2 ชนิด ได้แก่
      • เชื้อไวรัสเอชเอสวี (HSV) ซึ่งมีทั้งเชื้อไวรัสเอชเอสวี ชนิด 1 (HSV-1) และเชื้อไวรัสเอชเอสวี ชนิด 2 (HSV-2) โดยเชื้อเอชเอสวี ชนิด 1 จะก่อให้เกิดแผลที่ปาก ส่วนเชื้อเอชเอสวี ชนิด 2 มักจะทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ
      • เชื้อไวรัสวาริเซลล่า (Varicella Virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและงูสวัด เชื้อไวรัสชนิดนี้จัดเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปากเบี้ยวได้น้อยกว่าเชื้อไวรัสเอชเอสวี อย่างไรก็ตาม เชื้อวาริเซลล่าสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงอย่างกลุ่มอาการปากบี้ยวครึ่งซีก (Ramsay Hunt Syndrome) ได้
    • โรคอื่นๆ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสจากโรคอื่นๆ ก็อาจประสบภาวะปากเบี้ยวได้ ซึ่งได้แก่ โรคไซโตเมกาโลไวรัส หรือเชื้อซีเอ็มวี (Cytomegalovirus: CMV) ไวรัสเอ็บสไตบาร์ หรือเชื้ออีบีวี (Epstein-Barr Virus: EBV) ทำให้ป่วยเป็นโรคโมโนนิวคลีโอสิส (Mononucleosis)

    ปากเบี้ยวเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี และ 1 ใน 60 คน สามารถประสบภาวะนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีลักษณะต่อไปนี้ เสี่ยงต่อการเกิดอาการปากเบี้ยวได้มากกว่า

    • กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุครรภ์มาก หรือหลังคลอดภายใน 1 สัปดาห์
    • ป่วยเป็นเบาหวาน
    • ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด
    • มีบุคคลในครอบครัวประสบภาวะปากเบี้ยว
    • ติดเชื้อเอชไอวี

    การวินิจฉัยปากเบี้ยว

    ไม่มีการตรวจวินิจฉัยอาการปากเบี้ยวโดยเฉพาะ แพทย์จะตรวจเพื่อวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปากเบี้ยวหรือใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก โดยแพทย์อาจตรวจร่างกาย เพื่อดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น หลับตา เลิกคิ้ว หรือฉีกยิ้ม รวมทั้งสอบถามอาการของผู้ป่วย เพื่อพิจารณาว่าภาวะปากเบี้ยวที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่นหรือไม่ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไลม์ (ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย) เนื้องอก กลุ่มอาการเมอเบียส (Moebius Syndrome) การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง โคเลสเทียโตมาร์ (Cholesteatoma) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดการสะสมกันของเซลล์ผิวหนังในหูชั้นกลาง หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ อย่างไรก็ตาม หากไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดปากเบี้ยวอย่างชัดเจน แพทย์อาจตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม ดังนี้

    • ตรวจเลือด แพทย์อาจจะนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยมาตรวจ เพื่อหาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสภายในร่างกาย
    • ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG) แพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ โดยสอดขั้วไฟฟ้าซึ่งมีขนาดเล็กเท่าเข็มเข้าไปใต้ผิวหนัง ทะลุเข้ากล้ามเนื้อ จากนั้นออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) จะวัดคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อและเส้นประสาทผู้ป่วย การตรวจนี้จะช่วยประเมินระดับความรุนแรงที่เส้นประสาทถูกทำลาย
    • ตรวจด้วยภาพสแกน แพทย์อาจตรวจภาพสแกนร่วมด้วย โดยอาจให้ผู้ป่วยทำซีทีสแกน (CT Scan) หรือทำเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทใบหน้าถูกกดทับ ซึ่งใช้เฉพาะกรณีที่สงสัยว่าปากเบี้ยวเกิดจากเนื้องอกหรือกะโหลกศีรษะแตก

    การรักษาปากเบี้ยว

    ผู้ป่วยปากเบี้ยวส่วนใหญ่จะพักฟื้นร่างกายและหายได้เองโดยอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่จะใช้เวลาพักฟื้นนาน ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 9 เดือน ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องดูแลดวงตาให้ดีในช่วงที่พักฟื้นร่างกาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับการรักษาจะช่วยให้พักฟื้นได้เร็วขึ้น โดยวิธีรักษาปากเบี้ยวนั้นประกอบด้วยการรักษาด้วยยา กายภาพบำบัด และการผ่าตัด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

    • การรักษาด้วยยา วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการป่วยได้เร็วกว่าเดิม โดยตัวยาที่ใช้รักษาปากเบี้ยว มีดังนี้
      • สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์ที่ใช้รักษาปากเบี้ยวคือยาเพรดนิโซโลน ซึ่งช่วยลดการบวมอักเสบ แพทย์มักจ่ายยานี้ให้ผู้ป่วยใช้รักษาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน ควรเริ่มใช้ยาหลังจากที่เกิดอาการของโรคภายใน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก อาหารไม่ย่อย หรือนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน หลังจากร่างกายปรับตัวได้แล้ว
      • ยาต้านไวรัส แพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสในกรณีที่ผู้ป่วยปากเบี้ยวจากการติดเชื้อดังกล่าว โดยแพทย์อาจให้ยานี้ร่วมกับยาเพรดนิโซโลนในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว การรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยปากเบี้ยวมีอาการดีขึ้น

    นอกจากนี้ ผู้ป่วยปากเบี้ยวอาจได้รับยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน หรืออะเซตามิโนเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรง รวมทั้งควรดูแลรักษาดวงตาของตัวเองควบคู่กับการรักษาด้วยยา เพื่อป้องกันไม่ให้ตาแห้งและกระจกตามีแผล โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลเปลือกตาของตัวเอง ดังนี้

    • ใส่ที่ปิดตาหรือแว่นตากันลม
    • หยอดตา เพื่อช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้น
    • ใช้ขี้ผึ้งป้ายตา เพื่อป้องกันอาการตาแห้งตอนกลางคืน
    • ใช้เทปทำแผลปิดเปลือกตาบนและเปลือกตาล่างให้สนิทระหว่างนอนหลับ

    ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันทีในกรณีที่อาการเกี่ยวกับดวงตาแย่ลง อีกทั้ง หากการใช้ขี้ผึ้งป้ายตาและเทปทำแผลปิดตาไม่ได้ผล แพทย์จะผ่าตัดให้ผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติที่ดวงตา

    • กายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นและไม่สามารถฟื้นตัวหลังได้รับการรักษา จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างอื่นเพิ่มเติม นักกายภาพบำบัดจะสอนให้ผู้ป่วยบริหารและนวดใบหน้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อดังกล่าว เพื่อช่วยให้อวัยวะบนใบหน้าเคลื่อนไหวได้อย่างสอดประสาน รวมทั้งป้องกันกล้ามเนื้อใบหน้าหดตัวถาวร
    • การผ่าตัด ศัลยแพทย์จะร่วมกันผ่าตัด เพื่อช่วยจัดการปัญหากล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง วิธีนี้อาจช่วยไม่ให้อาการป่วยของดวงตาแย่ลง รวมทั้งยกระดับการทำงานและลักษณะของใบหน้าให้ดีขึ้น รวมทั้งปรับการมองเห็นและลักษณะใบหน้าให้ดีขึ้น ทั้งนี้ การผ่าตัดยังช่วยปรับตำแหน่งปาก ปรับความสมมาตรของใบหน้า รักษาปัญหาเกี่ยวกับการพูด รับประทานอาหาร และดื่มน้ำ ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการผ่าตัดเส้นประสาทหรือย้ายเส้นเอ็น เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม แพทย์จะไม่ค่อยผ่าตัดเส้นประสาทใบหน้าที่ถูกกดทับให้แก่ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยเสี่ยงได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า และสูญเสียการได้ยินถาวร
    • การฉีดโบทอกซ์ ผู้ป่วยปากเบี้ยว รวมทั้งผู้ที่มีน้ำตาไหลระหว่างรับประทานอาหารหรือเส้นประสาทใบหน้าต่อกันผิด จำเป็นต้องได้รับการฉีดโบทอกซ์ โดยแพทย์จะฉีดโบทอกซ์เข้าที่ใบหน้าข้างที่เบี้ยว เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวหรือลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ไม่ต้องการ ทั้งนี้ แพทย์จะฉีดโบทอกซ์ตรงหน้าข้างที่ไม่ได้เบี้ยวด้วยในกรณีที่ใบหน้าข้างนั้นได้รับผลกระทบจากอาการปากเบี้ยว เพื่อลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าและทำให้ใบหน้า 2 ข้างสมดุลกัน

    นอกจากนี้ หลังได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยสามารถดูแลอาการของโรคได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

    • ดูแลรักษาดวงตาที่เปลือกตาปิดไม่สนิท โดยหยอดน้ำตาเทียมระหว่างวัน และใช้ขี้ผึ้งป้ายตาตอนกลางคืนเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ รวมทั้งใส่ที่ปิดตาหรือแว่นตากันลม เพื่อป้องกันดวงตาเกิดแผล
    • บริหารกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ฝึกเกร็งหรือคลายใบหน้า เพื่อเสริมความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อและกระตุ้นให้ฟื้นตัวจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจใช้น้ำมันหรือครีมนวดหน้าผาก แก้ม และริมฝีปาก เพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้า
    • ควรดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด เนื่องจากผู้ป่วยปากเบี้ยวอาจมีน้ำลายน้อย ทำให้อาหารไปติดสะสมอยู่บริเวณดังกล่าว และนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบหรือฟันผุ ผู้ป่วยควรแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปาก ทั้งนี้ ควรรับประทานอาหารอ่อน และเคี้ยวอาหารช้าๆ ให้ละเอียด เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร
    • ประคบอุ่น โดยนำผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นหมาดๆ ประคบใบหน้าวันละหลายครั้ง เพื่อบรรเทาอาการปวด

    ปากเบี้ยว

    ภาวะแทรกซ้อนของปากเบี้ยว

    ผู้ป่วยปากเบี้ยวสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะฟื้นตัวภายใน 9 เดือน อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีลักษณะต่อไปนี้ จะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้

    • เกิดภาวะปากเบี้ยวหรือใบหน้าอัมพาตทั้งหมด ส่งผลให้ใบหน้าขยับไม่ได้
    • อายุมากกว่า 60 ปี
    • มีอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อเริ่มเกิดอาการปากเบี้ยว
    • ป่วยเป็นเบาหวาน
    • ความดันโลหิตสูง
    • กำลังตั้งครรภ์
    • เส้นประสาทใบหน้าถูกทำลายอย่างรุนแรง
    • ร่างกายไม่เริ่มฟื้นตัวหลังจากผ่านไป 2 เดือน
    • ไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวหลังผ่านไป 4 เดือน

    ทั้งนี้ ผู้ป่วยปากเบี้ยวร้อยละ 20 สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวได้ ดังนี้

    • ตาแห้งและกระจกตามีแผล เนื่องจากเปลือกตาอ่อนแรง หลับตาลงไม่ได้ ส่งผลให้กระจกตาแห้งเป็นแผล และตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษา
    • ผู้ป่วยปากเบี้ยวร้อยละ 20-30 อาจมีใบหน้าเบี้ยวถาวร
    • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด ซึ่งเป็นผลจากการที่เส้นประสาทใบหน้าถูกทำลาย
    • เส้นประสาทใบหน้าต่อกันผิด (Synkinesias) เนื่องจากเส้นประสาทใบหน้าเจริญออกมาผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมักกะพริบตาเมื่อรับประทานอาหาร หัวเราะ หรือยิ้ม ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจปิดตาสนิทเมื่อรับประทานอาหาร ซึ่งถือเป็นกรณีร้ายแรง
    • กล้ามเนื้อใบหน้าหดตัว ทำให้ใบหน้าผิดรูป เช่น ตาลงเล็กกว่าปกติ แก้มใหญ่เกินไป หรือแนวร่องที่อยู่ระหว่างฐานจมูกกับปากลึกกว่าเดิม
    • สูญเสียการรับรส หรือรับรสได้น้อยลง เนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลาย
    • น้ำตาไหลขณะรับประทานอาหาร
    • ผู้ป่วยปากเบี้ยวที่ติดเชื้อไวรัสวาริเซลล่า จะเกิดอาการปากเบี้ยวครึ่งซีก (Ramsay Hunt Syndrome) ซึ่งถือเป็นกลุ่มอาการร้ายแรงที่พบได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีตุ่มน้ำใสขึ้นที่ลิ้นและภายในหู ซึ่งรักษาได้ด้วยยาสเตียรอยด์และยาปฏิชีวนะ

    บทสรุป

    ปากเบี้ยวเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่วนใหญ่แล้วสามารถดูแลให้หายเป็นปกติ อย่างไรก็ตามยังไม่ปรากฏวิธีป้องกันภาวะปากเบี้ยวที่ชัดเจน เนื่องจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้าอันเป็นสาเหตุของโรคนี้ จะเกิดขึ้นกะทันหันทำให้ไม่สามารถป้องกันปากเบี้ยวได้

     

    เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

     

    ที่มาของบทความ

     

    ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  k9-companions.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • การปฏิวัติเหล้ารัมที่มีชีวิตชีวาของอินเดีย
    การปฏิวัติเหล้ารัมที่มีชีวิตชีวาของอินเดีย

    เมื่อใดก็ตามที่ Rahul Nair สั่ง Daiquiri หรือ Dark ‘n’ Stormy ที่บาร์ค็อกเทลคราฟต์ในอินเดีย เขาจะใส่ใจกับเครื่องดื่มของเขาเป็นพิเศษ

    นักออกแบบกราฟิกวัย 32 ปีกล่าวว่าเขาชอบถามบาร์เทนเดอร์

    เกี่ยวกับเหล้ารัมที่เติมลงในค็อกเทลของเขา หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น ให้ลองเดายี่ห้อของเหล้ารัมด้วยตัวเอง

    และนั่นเป็นเพราะในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โฮสต์ของแบรนด์ท้องถิ่น เช่น Short Story, Maka Zai และ Camikara ได้ทำให้วงการเหล้ารัมของอินเดียโดดเด่นขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง

    พวกเขากำลังทดลองวิธีการผลิตเหล้ารัม

    รูปแบบรสชาติ และวิธีการเพลิดเพลิน ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสงสัยเกี่ยวกับเหล้ารัมและแบบแผนเหมารวมที่พวกเขาอาจมีเกี่ยวกับเหล้ารัม

    เป็นเวลานานแล้วที่เหล้ารัมถูกผลักให้ไปอยู่ชั้นล่างสุดของตู้บาร์ทั่วโลก โดยมีวิสกี้ คอนญัก และจินอยู่ในช่องหลัก ในอินเดีย เหล้ารัมเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมเพราะมีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย แต่ไม่ใช่วิญญาณที่เห็นการทดลองอะไรมากมาย

    แต่สิ่งนี้กำลังเปลี่ยนไปเมื่อเหล้ารัมผ่านการปฏิวัติหรือแปลกแยก ส่วนใหญ่เป็นเพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นในเมืองใหญ่และผู้คนเปิดใจที่จะทดลองกับแอลกอฮอล์ของพวกเขา

    “เครื่องกลั่นกำลังคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ด้วยจิตวิญญาณอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้แต่ในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น ไทย และมาเลเซีย ซึ่งตามปกติแล้วจะไม่เกี่ยวข้องกับการทำเหล้ารัม” Arijit Bose นักผสมและผู้ก่อตั้ง Countertop India กล่าว

    อินเดียเป็นหนึ่งในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

    ด้วยขนาดตลาดประมาณ 52.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563 ตามรายงานของสภาวิจัยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศแห่งอินเดีย

    เหล้ารัมมีส่วน 11% ของปริมาณทั้งหมด

    จิตวิญญาณมีรากฐานมาจากทะเลแคริบเบียน ทาสที่ทำงานในสวนน้ำตาลค้นพบว่ากากน้ำตาลสามารถใช้ทำแอลกอฮอล์ได้ แต่การล่าอาณานิคมและการค้าได้นำจิตวิญญาณนี้ไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

    ในอินเดีย Old Monk เป็นแบรนด์เหล้ารัมที่ได้รับความนิยมสูงสุดมานานหลายทศวรรษ สุราสีเข้มที่หอมหวานและราคาไม่แพงนี้ได้กำหนดว่าเหล้ารัมควรมีรสชาติอย่างไรสำหรับชาวอินเดียรุ่นต่อรุ่น แต่ตอนนี้กำลังเปลี่ยนไป

    โรงกลั่น Piccadilly ของ Siddharth Sharma กำลังพลิกโฉมสิ่งต่างๆ ด้วยการผลิตเหล้ารัมในแบบ Rhum Agricole หรือแบบฝรั่งเศส Camikara รุ่นลิมิเต็ดอายุ 12 ปี ซึ่งเปิดตัวในเดือนธันวาคมทำจากน้ำอ้อย (ปลูกในไร่ของตนเอง) มากกว่า กากน้ำตาล.

    สิ่งนี้ค่อนข้างหายากในอินเดียในขณะนี้และเพื่อทำความเข้าใจว่าทำไม เราต้องเข้าใจก่อนว่าเหล้ารัมที่มีอยู่ในประเทศผลิตขึ้นมากน้อยเพียงใด อย่างน้อยก็จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้

    รัมที่มีราคาย่อมเยาส่วนใหญ่ผลิตขึ้นโดยใช้วิญญาณที่เป็นกลางซึ่งทำจากกากน้ำตาลหมัก ซึ่งเป็นสารหนืดสีเข้มที่ตกค้างหลังจากน้ำอ้อยผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นน้ำตาล มีการเติมสารเติมแต่ง เช่น น้ำตาลและคาราเมลเพื่อให้วิญญาณมีรสชาติที่อร่อยยิ่งขึ้น

    รัมเหล่านี้สามารถผลิตได้จำนวนมากด้วยต้นทุนที่ต่ำ

     การปฏิวัติเหล้ารัมที่มีชีวิตชีวาของอินเดียเนื่องจากวัตถุดิบมีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ต้องขอบคุณอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลที่เฟื่องฟูของอินเดีย แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ารัมเหล่านี้ไม่มีกลเม็ดเด็ดพรายและรสชาติที่มากกว่าพันธุ์ระดับพรีเมียมที่ผลิตในต่างประเทศ

    แบรนด์คราฟต์รัมของอินเดียเพิ่มรสชาติให้กับเหล้ารัมผสมกากน้ำตาลด้วยการเพิ่มส่วนผสมใหม่ๆ เช่น กาแฟและเครื่องเทศ บางส่วนผสมกับเหล้ารัมที่มาจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มรสชาติ จากนั้นมีแบรนด์ต่างๆ เช่น Camikara ซึ่งกำลังเปลี่ยนจิตวิญญาณพื้นฐานในขณะเดียวกันก็ทดลองกระบวนการกลั่นและบ่ม

    รัม Short Story ของ Third Eye Distillery ซึ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ผู้บริโภคได้ลิ้มรสรัมที่เพลิดเพลินในทะเลแคริบเบียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องการผลิตรัมที่ดีที่สุดในโลก เหล้ารัมสีขาวของพวกเขาผสมผสานเหล้ารัมกากน้ำตาลของอินเดียกับเหล้ารัมจาเมกา ตรินิแดดและโดมินิกัน

    เมื่อ 2 ปีที่แล้ว Stilldistilling Spirits ได้เปิดตัว Maka Zai ซึ่งเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ผลิตขึ้นเองในยุคแรกๆ ที่ทดลองกับจิตวิญญาณ Maka Zai นำเสนอเหล้ารัมสีขาวที่มีบอดี้ปานกลางพร้อมกลิ่นหอมของเขตร้อน และเหล้ารัมสีทองผสมที่มีเนื้อครีม

    Kasturi Banerjee ผู้ก่อตั้ง Stilldistilling Spirits กล่าวว่า “มีแบบแผนมากมายเกี่ยวกับเหล้ารัม เช่น รัมมีไว้สำหรับฤดูหนาวเท่านั้น หรือวิธีเดียวที่จะดื่มได้ก็คือโค้ก” “เราต้องการทำลายแบบแผนเหล่านี้และนำเสนอเหล้ารัมเป็นเครื่องดื่มที่มีความซับซ้อนแต่สนุกสนาน ในรูปแบบของค็อกเทลหรือตามที่เป็นอยู่ เช่น คอนญัก”

    Segredo Aldeia ของโรงกลั่น Fullarton Distilleries ก็เข้าสู่ตลาดเมื่อสองปีก่อนเช่นกัน โดยมีเหล้ารัมสีขาวและคาเฟ่ ทั้งสองอย่างทำจากอ้อยและน้ำตาลโตนดผสมกัน และรัมคาเฟ่ของพวกเขาก็ผสมเมล็ดกาแฟคั่วที่มาจากทางตอนใต้ของอินเดีย

    เหล้ารัมเหล่านี้ถูกเรียกเก็บเงินเป็นของพรีเมี่ยมหรือ “งานฝีมือ” มีราคาสูงถึง 1,000 รูปีสำหรับขวดขนาด 750 มล. ($ 12; 10 ปอนด์) และสามารถสูงถึง 6,000 รูปี แม้ว่าราคาจะไม่สูงเท่าวิสกี้ที่ผลิตมาอย่างดี แต่ผู้ผลิตเหล้ารัมของอินเดียกล่าวว่า ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากสิ่งที่ผู้บริโภคเคยชินกับการจ่ายเงินเพื่อซื้อเหล้ารัม

    อย่างไรก็ตาม ต้นทุนไม่ใช่ความท้าทายหลักที่พวกเขาเผชิญเมื่อต้องขยายฐานลูกค้า ค่อนข้างขาดความรู้ที่ผู้คนมีเกี่ยวกับเหล้ารัม

    Siddharth Sharma ผู้ก่อตั้งโรงกลั่น Piccadily Distilleries กล่าวว่า “เหล้ารัมมีหลากหลายสไตล์ – ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษเป็นหลัก และแต่ละสไตล์ก็ตีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก”

    แต่แบรนด์ต่างๆ กล่าวว่า ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายมากขึ้นในการทดลองแอลกอฮอล์ใหม่ๆ เนื่องจากกระแสความนิยมของเหล้ายินที่แพร่หลายในอินเดียเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ร้านค้าปลีกและบาร์ต่างๆ เต็มไปด้วยเหล้ายินที่ผลิตเองในท้องถิ่น

    นอกจากนี้ ร้านอาหารและบาร์ยังสนับสนุนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ๆ โดยเพิ่มเข้าไปในงานชิมหรือค็อกเทลใหม่ๆ ความรู้สึกเชิงบวกนี้กระตุ้นให้แบรนด์เหล้ารัมจากต่างประเทศนำผลิตภัณฑ์ของตนมาที่อินเดียเช่นกัน

    แบรนด์เหล้ารัมสัญชาติฝรั่งเศส Plantation เปิดตัวในอินเดียเมื่อปีที่แล้ว รัมดับเบิ้ลเอจ (double-aged rums) ที่หลากหลาย (ผลิตครั้งเดียวในประเทศที่เป็นตัวแทนและอีกครั้งในฝรั่งเศส) ทำให้ผู้บริโภคได้ลิ้มรสสไตล์รัมของประเทศต่างๆ ในทะเลแคริบเบียน เช่น จาเมกา บาร์เบโดส และตรินิแดด Pernod Ricard เปิดตัว Havana Club 7 ซึ่งเป็นเหล้ารัมดำคิวบาที่มีความซับซ้อนในอินเดียเมื่อปีที่แล้ว

    แต่แม้จะมีการทดลองทั้งหมดบนสนามหญ้าในบ้าน นักวิจารณ์กล่าวว่าอินเดียยังมีหนทางอีกยาวไกลก่อนที่จะสามารถนำเสนอรัมระดับโลกที่เป็น “งานฝีมือ” หรือระดับพรีเมียมในความหมายที่แท้จริง และนั่นเป็นเพราะการทำรัมเหล่านี้มีราคาแพงและใช้เวลามาก

    โรงกลั่นในท้องถิ่นจำนวนมากที่ทดลองกับเหล้ารัม

    ในขณะนี้มีขนาดเล็กและขาดเงินทุนที่จำเป็นในการจัดตั้งหน่วยกลั่นหลัก

    พวกเขาพึ่งพาผู้ผลิตในท้องถิ่นเพื่อให้ได้จิตวิญญาณพื้นฐาน ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างรัมของพวกเขา

    “การกลั่นขั้นต้นเป็นกุญแจสำคัญในการทำเหล้ารัมหรือวิสกี้” คุณโบสอธิบาย “แต่มันยากที่จะได้รับใบอนุญาตการกลั่นหลักในอินเดีย และเมื่อคุณพึ่งพาแหล่งที่มาภายนอกสำหรับวิญญาณพื้นฐานของคุณ คุณก็ไม่สามารถรับประกันคุณภาพของมันได้” เขากล่าว

    ประการที่สอง เช่นเดียวกับวิสกี้ เหล้ารัมก็จำเป็นต้องบ่มอย่างน้อยสองปีเพื่อให้ได้รสชาติที่เข้มข้นและลึกล้ำ แต่คลังสินค้ามีราคาแพง ตัวถังมีราคาหลายพันรูปี ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ที่ใช้

    แต่คุณโบสบอกว่าแบรนด์เหล่านี้ช่วยเริ่มต้นการสนทนาเกี่ยวกับเหล้ารัมได้อย่างแน่นอน และนี่คือก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในทิศทางที่ถูกต้อง

    BBC News India อยู่บน YouTube แล้ว คลิกที่นี่เพื่อสมัครรับข้อมูลและชมสารคดี คำอธิบาย และคุณลักษณะต่างๆ ของเรา

    เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจในเว็บของเรา

    เรอัล มาดริด ยังคงมีความหวังในดีลของเอ็มบัปเป้ในช่วงซัมเมอร์นี้

    นิทานสำหรับเด็ก มีประโยชน์มากมาย

    อิลคาย กุนโดกัน เข้าร่วมบาร์เซโลนาจากแมนฯ ซิตี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย

    กางสูตรเสริมทัพ ลิเวอร์พูล พร้อมอัพเดตแข้งเป้าหมายซัมเมอร์นี้

    การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นอย่างไร

    ขอบคุณรูปภาพจาก pexels.com

    แหล่งที่มา https://www.bbc.com/news/business

    สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ k9-companions.com